วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิจารณ์วรรณกรรมเรื่องความสุขของกะทิ

วิจารณ์วรรณกรรมเรื่องความสุขของกะทิ
                จุดมุ่งหมายในการวิจารณ์วรรณกรรมในเรื่อง ความสุขของกะทินี้ เพื่อที่จะวิจารณ์ในเนื้อหาเรื่องราวของวรรณกรรมซีไรต์ในด้าน การถ่ายทอดเรื่องราว ความเป็นอยู่ที่เข้มแข็งของกะทิผู้ซึ่งเป็นตัวละครเอก และยังสามารถรับรู้ถึงบุคลิกภาพของตัวละครในเรื่องความสุขของกะทิอีกด้วยและยังสามารถช่วยให้ผู้ที่อ่านและศึกษาในวรรณกรรมเรื่องนี้ได้รู้ถึงความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ควรเป็นอย่างไร ความสุขปนความทุกข์เมื่อเกิดขึ้นแล้วแก้ไขได้อย่างไร จึงทำให้เป็นจุดมุ่งหมายในการวิจารณ์วรรณกรรมในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
                “ความสุขของกะทิเป็นนวนิยายของ งามพรรณ เวชชาชีวะ ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือรางวัลซีไรต์ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นนวนิยายขนาดสั้น ที่สามารถสื่อแนวคิดให้ผู้อ่านได้รับรู้ว่าชีวิตคนเรามีทั้งความสุขและความทุกข์ปะปนกันไป ได้เข้าใจโดยผ่านชีวิตของ เด็กหญิงวัย 9 ขวบ ที่ต้องผ่านการสูญเสียครั้งสำคัญ แต่เธอก็ยังมีคนใกล้ชิดคอยให้กำลังใจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผู้เขียนต้องการสื่อให้รู้ว่าชีวิตคนเรามีทั้งความสุขและความทุกข์และวรรณกรรมเรื่องนี้ยังได้ถูกสร้างเป็นภาพยนต์ในปี พ.ศ. 2552 ในชื่อเดียวกันว่า ความสุขของกะทิ หนังสือภาคต่อของ ความสุขของกะทิ ชื่อว่า ความสุขของกะทิ ตอน ตามหาพระจันทร์ และ ความสุขของกะทิ ตอน ในโลกใบเล็ก วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นววรณกรรมที่ทำให้ผู้อ่านบอกได้คำเดียวเลยว่า กินใจจับใจกรรมการอย่างมากเลยทีเดียว ฉะนั้นจึงจะขอวิจารณ์ในภาพรวมของวรรณกรรมในเรื่องนี้
                ความสุขของกะทิ เล่าเรื่องราวของน้องกะทิ เด็กหญิงวัย 9 ขวบที่กำลังจะต้องสูญเสียแม่ ซึ่งป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แม่รู้ตัวดีว่าไม่สามารถเลี้ยงดูกะทิได้ จึงฝากกะทิให้ตากับยายเลี้ยง กะทิเติบโตมาด้วยความรักของตาและยาย มีชีวิตอย่างสุขสบายในบ้านหลังน้อยริมคลองอันอบอุ่น แม่ของกะทิเป็นโรคร้ายที่แน่นอนว่าจะต้องตาย แม่ของกะทิมีระบบคิดและวิธีการของตัวเองที่จะเตรียมตัวตายแบบที่อ่านแล้วต้องน้ำตาคลอ ผู้หญิงคนไหนมีลูกและคิดว่าตัวเองรักลูกอย่างที่สุด ต้องอ่านนิยายเรื่องนี้ อ่านวิธีเตรียมตัวตายของแม่กะทิ ชั่งจับจิตกินใจเสียเหลือเกิน และเรื่องของพ่อกะทิ ซึ่งไม่ปรากฏตัวและแทบจะไม่มีการเอ่ยถึงในเรื่อง แต่เป็นตัวละครสำคัญในเรื่อง ที่ว่าเป็นตัวละครสำคัญเพราะมีส่วนอย่างยิ่งที่ทำให้เด็กหญิงกะทิบรรลุธรรม
ผู้เขียน เล่าเรื่องราวของกะทิอย่างเรียบง่าย เนรมิตบ้านริมคลองให้เป็นบ้านในฝัน ที่อบอวลด้วยบรรยากาศอันรื่นรมย์ของอดีต ฉายรายละเอียดสิ่งละอันพันละน้อย ของวิถีชีวิตที่สุขสงบของครอบครัวชนชั้นกลางระดับสูงให้ผู้อ่านประทับใจ
กะทิมีครอบครัวที่เอาใจใส่ดูแลกะทิด้วยความรักและความห่วงใยจากใจจริง เธอมีคุณตาที่เคยเป็นทนาย ซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะจากกะทิและครอบครัวได้อยู่เสมอๆ คุณยายของกะทิยายเป็นคนมีความรู้ดี เคยทำงานดี แต่เมื่อมาอยู่ต่างจังหวัดก็พยายามทำตัวเป็นชาวบ้าน ใช้ชีวิตอย่างคนชนบท ตาซึ่งเคยเป็นนักกฎหมายผู้สามารถเกษียณแล้วก็มาอยู่อย่างชาวบ้าน ดิฉันชอบสัมพันธภาพระหว่างตากับยายในเรื่องนี้มาก ตาเป็นคนจิตใจดีมีอารมณ์ขันในขณะที่ยายนั้นขี้บ่น เคร่งครัด และหัวโบราณ แต่ถึงกระนั้นก็สอนกะทิเรื่องต่างๆนานา อะทิเช่น การทำอาหาร การอยู่ในสังคม เป็นต้น
วิธีการเขียนและการนำเสนอเรื่องนี้แปลกไปจากนิยายที่เขียนๆ กันมา คือจะมีชื่อตอนแต่ละตอน ซึ่งเป็นตอนสั้นๆ จากชื่อตอนก็จะมีคำถามหรือคำพูดหรือความรู้สึกของเด็กหญิงกะทิ เป็นต้นว่าตอนที่ 9 ชื่อตอนว่า กระถางธูปใต้ชื่อตอนอยู่ในเครื่องหมายคำพูด เหลือเพียงเสียงของแม่ที่กะทิจำได้ดีเป็นวิธีการดำเนินเรื่องอีกลักษณะหนึ่งซึ่งน่าสนใจมาก
เป็นการนำเสนอที่แสดงออกให้เห็นถึงความผูกพันและความรักของครอบครัวและในขณะเดียวกันยังสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมไทยทั้งเก่าและใหม่ ผ่านทางเรื่องเล่าที่ราบรื่น กลมกลืน จนสามารถทำให้กระทิมีความสุขจนลืมเรื่องราวเศร้าๆที่มีอยู่ในขณะนั้นไปเลยก็ว่าได้ซึ่งเป็นการนำเสนอหาดูและอ่านได้ยากมาก
                ส่วนพี่ทองเป็นคนที่เข้าอกเข้าใจกะทิเป็นอย่างดี และเป็นคนที่มีบุญคุณต่อกะทิ เพราะว่าพี่ทองเคยช่วยชีวิตกะทิไว้ตอนกะทิเป็นเด็กเล็ก ส่วนน้าฏา และน้ากันต์ซึ่งเป็นคนที่ห่วงใยกะทิ และคอยหาสิ่งดีๆให้กะทิอยู่เสมอๆ และเป็นคนที่พูดปลอบใจกะทิในยามที่กะทิเศร้าโศกเสียใจ และที่ขาดไม่ได้ก็คือ แม่ของกะทิ ที่ถึงแม้จะจากไปก่อนวัยอันควรแต่ก็จัดสิ่งต่างๆไว้ให้กะทิอย่างดิบดี ด้วยความรัก และเอาใจใส่จากใจ
แต่ในความสุขมีความเศร้า ในวิถีชีวิตที่สุขสงบนี้ กะทิต้องเผชิญประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ต้องสูญเสียแม่
 กะทิอยู่กับตายายตั้งแต่เด็กจนทุกวันนี้กะทิจำเรื่องราวของแม่เธอไม่ได้แล้ว ตากับยายไม่เคยพูดถึงแม่ของกะทิเลย แต่ก็รู้ว่าในใจของกะทิอยากเจอแต่แม่
                แล้วในวันหนึ่งความฝันของกะทิก็เป็นจริง ตากับยายบอกกะทิว่าแม่ไม่สบาย ตอนนี้รักษาตัวอยู่ที่บ้านชายทะเล เลขานุการของแม่กะทิมารับตายายและกะทิไปพบแม่ที่บ้านชายทะเล
หลังจากกะทิเจอแม่ได้ไม่นาน แม่ของกะทิก็จากไปอย่างสงบ และเพื่อนๆของแม่กะทิก็พากะทิไปบ้านพักที่กรุงเทพ บ้านที่แม่กับกะทิเคยอยู่ด้วยกัน ที่คอนโดทิ้งเอกสารที่เกี่ยวกับแม่ของกะทิ ซึ่งแม่ของเธอเป็นคนรวบรวมเรื่องราวชีวิตนี้เอง จึงทำให้กะทิรู้ว่า แม่เจอกับพ่อตอนที่ไปเรียนและทางานที่อังกฤษ และพ่อกับแม่ก็แต่งงานกัน และแม่ก็ย้ายไปทางานที่ฮ่องกงจึงต้องแยกกันอยู่ และแม่ของกะทิรู้ว่าพ่อคุยกับคนรักเก่า แม่จึงตัดสินใจกลับมาอยู่กรุงเทพ และก็ได้รู้ว่าตนเองตั้งท้อง
แม่มีจดหมายให้กะทิตัดสินใจเองว่าจะส่งไปให้พ่อหรือไม่ แต่สุดท้ายกะทิก็เลือกที่จะอยู่กับตายายเหมือนเดิม
งามพรรณ เวชชาชีวะ ต้องการเล่าเรื่องราวของเด็กหญิงวัย 9 ขวบ ที่ชีวิตของเธอได้ผ่านทั้งความสุขและความทุกข์ ความผูกพัน และการพลัดพราก แต่เธอก็สามารถผ่านอุปสรรค์นั้นได้ ด้วยกาลังใจของคนรอบข้าง ซึ่งผู้เขียนต้องการสื่อให้เห็นว่าตัวละครเอก คือกะทิต้องการทิ้งอดีตไว้ให้เป็นเพียงเงา ดังประโยคที่ว่ากะทิกราบพระก่อนนอน พรุ่งนี้ตื่นแต่เช้าไปโรงเรียน ทุกอย่างเหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แล้วเสียงตะหลิวของยายก็ปลุกกะทิขึ้นมาพบโลกใบนี้อีกครั้ง
จากข้อความดังกล่าวทำให้เห็นว่ากะทิต้องการลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปิดเทอม ทั้งเรื่องแม่ที่ต้องจากเธอไป และเรื่องจดหมายที่แม่ของกะทิให้ตัดสินใจว่าจะส่งไปให้พ่อของเธอหรือไม่ แต่สุดท้ายจากข้อความข้างต้นก็ทำให้รู้ว่ากะทิเลือกที่จะใช้ชีวิตแบบเดิมที่เธอเคยอยู่กับตายาย
นวนิยายเรื่องความสุขของกะทินี้ยังนาเสนอข้อคิดหลายข้อคิดที่ทาให้คนเรารู้ว่าการที่เรามีความสุขนั้น ความสุขของคนรอบข้างก็คือความสุขของเรา ดังประโยคที่ว่าแม่ของกะทิเคยให้ความช่วยเหลือหลายครั้ง โดยเฉพาะค่าเล่าเรียน แม่ดูจะทำให้คนรอบข้างมีความสุขได้อย่างน่าชื่นชม”  
จากข้อความดังกล่าวเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แม่ของกะทิช่วยเหลือคนอื่นอย่างเต็มใจ โดยที่ผลบุญนั้นตกมาถึงกะทิ ที่มีคนคอยช่วยเหลือตลอดเวลา ซึ่งสามารถมองย้อนกลับมาในสังคมปัจจุบันการที่เรามีน้ำใจกับผู้อื่น คอยช่วยเหลือผู้อื่น ยามที่เราเดือดร้อน เราก็จะมีคนคอยช่วยเหลือเราตลอดเวลา เราช่วยเหลือผู้อื่นเราก็มีความสุข ผู้รับก็มีความสุขเช่นกัน สุขทั้งผู้ให้และผู้รับ
ผู้เขียนยังให้แนวคิดไว้อีกว่า ชีวิตคนเรามีทั้งสุขและทุกข์ ซึ่งเป็นนวนิยายที่เหมาะสาหรับคนทุกวัย ที่สามารถสอนให้เรามีความคิด มีสติ เผชิญกับปัญหาที่กาลังจะเกิดขึ้นและต่อสู้กับมันจนผ่านพ้นไปได้ด้วยดี และชีวิตจะมีความสุขดังเดิม
จะเห็นได้ว่า นวนิยาย เรื่องความสุขของกะทิเป็นนวนิยายที่แฝงไปด้วยความรักความอบอุ่น ของคนรอบข้าง ที่มีให้กันด้วยความจริงใจ ซึ่งทำให้เด็กคนหนึ่งผ่านพ้นเรื่องร้ายๆไปได้ด้วยดี ถ้าคนในสังคมไทยมองเห็น ความรัก ความจริงใจของคนรอบข้างชีวิตก็จะมีแต่ความสุข และเป็นนวนิยายที่สอนคนให้รู้จักความเข็มแข็ง อดทนต่อสู้กับปัญหาที่จะเกิดขึ้น
และในความเศร้านั้นก็มีความสุข กะทิไม่คิดจะโหยหาถึงพ่อที่อยู่ไกลโพ้นต่างแดน หากเลือกอยู่ในอ้อมกอดของตากับยาย และผ่านชีวิตอันควรจะทุกข์นั้นด้วยใจที่เข้มแข็ง
                เสน่ห์ของนวนิยายขนาดสั้นเรื่องนี้อยู่ที่กลวิธีการเล่าเรื่อง ที่ค่อยๆ เผยปมปัญหาทีละน้อย ๆ อารมณ์สะเทือนใจจะค่อยๆ พัฒนาและดิ่งลึกในห้วงนึกคิดของผู้อ่าน นำพาให้ผู้อ่านอิ่มเอมกับรสแห่งความโศกเศร้าอันเกษม ที่ได้สัมผัสประสบการณ์ทางอารมณ์ของชีวิตเล็กๆ ในโลกเล็กๆ ของเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งอาจไม่ไกลจากชีวิตจริงของเราเลย
                ความคิดรวบยอดที่กะทิมีต่อตนเอง พบว่ากะทิได้รับการพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตัวเอง โดยการได้รับการยอมรับในเชิงบวกและอย่างมีเงื่อนไข เป็นการให้ความรักและใส่ใจที่ทุกคนมีให้กะทิอย่างลึกซึ้ง จึงสะท้อนบุคลิกถาพที่สอดคล้องกันระหว่าง ตัวตน และประสบการณ์จึงทำให้กะทิมีสุขภาพจิตที่ดีและเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี จะพบว่ากะทิเป็นผู้ที่มีบุคลิกดีหลายอย่าง เช่น
-                   กะทิเปิดรับประสบการณ์ทุกอย่าง หมายถึง กะทิยอมรับรู้อารมณ์ทุกประเภทที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการปฎิเสธ ใช้กลวิธานป้องกันตนในระดับพอสมควร เป็นเวลาไม่นานนักกะทิรับรู้ความเศร้าของตนเอง และยอมรับในการสูญเสียที่เกิดขึ้นและไม่อยู่กับความรู้สึกเศร้านานนัก กะทิจะรู้ตัวและอยู่กับปัจจุบันเสมอ แม้ว่าสภาพจิตใจของกะทิจะรู้สึกต่อต้านและต้องการปฎิเสธความจริงว่าแม่กำลังจะจากไป ขณะเดียวกันกะทิรู้ว่าต้องยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นกะทิต้องหลบเลี่ยงจากความจริง แต่เมื่อเวลาผ่านไปกะทิจะสามารถปรับความรู้สึกให้กลับมาเป็นปัจจุบันได้
-                   กะทิมีชีวิตชีวาเปิดรับประสบการณ์ต่างๆเข้ามาในชีวิตตามที่เกิดขึ้น แม้ว่าพึ่งเสร็จสิ้นงานศพของแม่ กะทิให้ความสนใจที่จะไปเข้าค่ายดูดาว
-                   กะทิเชื่อในสัญชาตญาณและความคิดของตนเอง กะทิมีพฤติกรรมที่แสดงออกไปตรงกับความต้องการของจิตใจโดยไม่ลังเลหรือรอคำสั่ง
-                   กะทิมีความคิดสร้างสรรค์ มีอิสระจากความกดดัน และมั่นใจในการแสดงศักยภาพสูงสุดของตนเอง กะทิมีความคิดสร้างสรรค์ และชอบความงามของธรรมชาติ มีจิตนาการ และมีสุนทรียภาพสามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ
-                   กะทิมีความเป็นอิสระในการทำให้ตนเองมีความสุข กล้าเผชิญกับความล้มเหลว รับผิดชอบต่อการตัดสินใจในการกระทำของตนเองด้วย กะทิตัดสินใจจะใช้ชีวิตที่บ้านริมคลองกับตาและยายต่อไปโดยการไม่ส่งจดหมายไปหาพ่อ และใช้วิธีการที่ถนอมความรู้สึกกับคนรอบข้าง โดยการเลือกส่งจดหมายไปหาพี่ทอง ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ต่างประเทศ แทนการส่งจดหมายไปหาพ่อตามที่อยู่ที่แม่ให้ไว้
สิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้เป็นกระบวนการความคิดและบุคลิกของกะทิผู้ซึ่งเป็นตัวละครเอกของเรื่อง
                วรรณกรรมเรื่อง ความสุขของกะทิ จึงเป็นของแปลกใหม่ในการนำเสนอออกมาเป็นหนังไทย ในเรื่องความสุขของกะทินี้ มีการนำมาทำเป็นภาพยนตร์ได้อย่างดีมากในการนำสนอ ทั้งการถ่ายภาพ จัดแสง การตัดต่อ การออกแบบ อยู่ในขั้นดีถึงดีมากทั้งหมดเลยทีเดียว
ตัวละคร
กะทิ 
กะทิ หรือมีชื่อจริงว่า ณกมล พจนวิทย์ เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 หลังเวลาเที่ยงคืน เป็นบุตรีของมารดาชาวไทย ชื่อ ณภัทร พจนวิทย์ กับ บิดาชาวพม่า(มัณฑะเลย์)ที่ตั้งรกรากอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่ออายุ 9 ขวบ ได้รับการเลี้ยงดูโดยตาและยาย ซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดอยุธยา ในชีวิตแรกเกิด กะทิ ได้รับการเลี้ยงดูจากมารดา และได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูลโดยเหล่าญาติและเพื่อนของแม่กะทิ
แม่ 
แม่ของกะทิ มีชื่อจริงว่า ณภัทร พจนวิทย์ มีอายุประมาณ 30-40 ปี ทำงานเกี่ยวกับโฆษณา ก่อนที่แม่ของกะทิจะกลับมาที่ประเทศไทยอีกครั้ง ได้ทำงานที่ฮ่องกง เป็นที่สุดท้าย พร้อมกับตั้งครรภ์กะทิกลับมายังประเทศไทยด้วย เมื่อกะทิอายุได้ 3-4 ปี แม่ของกะทิเริ่มเกิดภาวะโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จึงเป็นจุดตัดสินใจหนึ่งที่แม่ของกะทิให้ตากับยายเป็นผู้เลี้ยงดูตา 
พิทักษ์
อดีตทนายนักเรียนนอก วัย ๖๗ ปี ที่หันหลังให้กับชีวิตเมืองกรุง และย้ายกลับมาใช้ชีวิตเรียบง่ายในอยุธยา กับภรรยา และ กะทิหลานสาว ที่ ณภัทรลูกสาวคนเดียวฝากไว้ในความดูแล ชีวิตบั้นปลายของพิทักษ์จึงมีสีเข้มขึ้นกว่าที่เจ้าตัวคิดไว้และทุกนาทีมีค่าเมื่อต้องประคับประคองชีวิตหนึ่งที่เพิ่งเริ่มต้นให้ออกก้าวเดิน
ยาย 
ลัดดา อดีตเลขานายใหญ่โรงแรมห้าดาว วัย ๖๔ ปี ยายของ กะทิที่พอใจกับชีวิตเรียบง่าย รอยยิ้มของลัดดาหายไปเมื่อรับรู้ว่าลูกสาวคนเดียวมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน และภาระความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูหลานชวนให้ต้องใช้สติในการตัดสินใจ
พี่ทอง 
ทอง หรือ สุวรรณ วินัยดี(หน้า ๘๐ ย่อหน้าที่ ๒)เด็กวัด วัย ๑๔ ปี ทองกลายเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวกะทิโดยไม่รู้ตัว เมื่อเขาได้ช่วยชีวิตกะทิไว้ในวันฝนตก ทองมีนิสัยชอบช่วยผู้อื่นโดยธรรมชาติและโดยการอบรมของหลวงลุง เขารับกะทิเป็นน้องเล็กตั้งแต่วันแรกที่ได้เห็นเมื่อมารับบิณฑบาตกับหลวงตา และความรู้สึกนี้ไม่เคยแปรเปลี่ยนตามกาลเวลาเลย
ลุงตอง 
ทิฆัมพร วงศ์ภิรมย์ ลุงตอง ลุงของกะทิ วัย ๓๙ ปี เป็นลูกพี่ลูกน้องของ ณภัทรแม่ของกะทิ โดยนิสัยเป็นคนใจดี รักพี่น้องและพวกพ้องมาก ผูกพันกับณภัทรมาตั้งแต่เล็ก เป็นคนมีอารมณ์ขันหยิกแกมหยอก แต่ลุงตองมีสายตาแหลมคมและมองโลกในมุมปรัชญาเสมอ
น้าฎา 
หญิงสาววัย ๒๗ ปี เป็นเลขาฯ ให้ณภัทรและกลายเป็นมือขวาในทุกเรื่องให้เธอจนถึงวาระสุดท้าย หัวใจเธอสลายเมื่อรู้ว่าณภัทรป่วยหนัก แต่ก็เป็นเวลาที่ทำให้เธอได้รู้จักความเข้มแข็ง ความเสียสละ และรักแท้ที่แม่มีให้ลูก เธอไม่อาจห้ามใจผูกพันกับเพื่อนรุ่นน้องของณภัทรได้ และรู้ว่ามีโอกาสน้อยเหลือเกินที่เขาจะมองมา แต่นั่นก็เป็นความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเธอที่ได้ใกล้ชิดเขาในช่วงเวลาหนึ่ง
น้ากันต์ 
หนุ่มโสด พูดน้อย เก็บตัว รุ่นน้องที่สนิทสนมกับณภัทรตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย กันต์ชื่นชมในความเก่งและยกให้ณภัทรเป็นผู้หญิงในดวงใจ เขาพร้อมเสียสละความสุขส่วนตัวหากจะทำให้เพื่อนรุ่นพี่จากไปโดยสงบ และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลกะทิ กันต์ไม่เคยมองหาหญิงคนไหน แม้จะมีสาวสวยน่ารักอยู่ใกล้ตัว จนเมื่อภาพความจริงคมชัดว่าชีวิตไม่ควรโดดเดี่ยวนัก เขาจึงถอนสายตาจากหญิงในดวงใจมายังหญิงใกล้ตัว
ข้อความสำคัญในเรื่อง ความสุขของกะทิ
กะทิ
-     “อดีตเหมือนเงาบางครั้งทอดนำอนาคต
-     “น้ำตาไม่อาจแทนความโศกเศร้าได้
-     “หนูคืออนาคตของแม่ตั้งแต่วันที่ชีวิตแม่นับถอยหลัง
-     “ความรักมีหลายรูปแบบและสีสัน
-     “ความสุขของคนรอบข้างคือความสุขของเราด้วย
-     “ทิ้งอดีตไว้ให้เป็นเพียงเงา
-      แต่สุดท้ายแล้วมันก็ผ่านไป เกิดขึ้นมาก็มีวันจบไป โลกยังคงหมุนเวียนและเปลี่ยนไป สุดแต่ใครที่จะเข้าใจในเรื่องนี้
ข้อคิดของเรื่อง ความสุขของกะทิ
-     “ชีวิตคนเราไม่แน่นอน จะทำอะไรก็ควรรีบทำ
-     “การที่เราจะมีความสุขนั้นขึ้นอยู่กับตัวเราไม่ใช่สิ่งรอบกาย
-     “ชีวิตของคนเรามีทั้งสุขและทุกข์
-     “ชีวิตนั้นจะชอกช้ำหรือสวยงามแค่ไหน สุดท้ายแล้วมันก็ผ่านไป เกิดขึ้นมาก็มีวันจบไป...เมื่อเรามีทุกข์ย่อมมีสุขตามมา
รางวัลที่ได้รับ
บทแปลภาษาอังกฤษชื่อ The Happiness of Kati แปลโดยพรูเดนซ์ บอร์ทวิก (Prudence Borthwick) ได้รับรางวัลที่ 2 จากการประกวดงานแปล ประจำปี พ.ศ. 2548 John Dryden Translation Competition จัดโดยสมาคมวรรณคดีเปรียบเทียบแห่งอังกฤษ (British Comparative Literature Association)
เอกสารอ้างอิง
งามพรรณ เวชชาชีวะ. (2549). ความสุขของกะทิ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ.
แพรวสานักพิมพ์.
th.wikipedia.org/wiki/ความสุขของกะทิ
movie.sanook.com › ข่าวหนัง






3 ความคิดเห็น:

  1. สนุกมากๆเลยครับ อ่านแล้ว รู้สึกได้กลิ้นของความอบอุ่น มาจาในใจเลยครับ

    ตอบลบ
  2. เขียนได้ดีมากๆเลยค่ะ:)

    ตอบลบ